ระบบกรองสำหรับเลี้ยงปลาการ์ตูน
รู้จักกับระบบกรองกันก่อน
ระบบกรองนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยนะครับในการเลี้ยงปลา ซึ่งจริงๆแล้วไม่ว่าจะเป็นปลาน้ำจืดหรือปลาทะเลก็ล้วนแต่มีความสำคัญไม่แพ้กัน แล้วเราควรให้ความสำคัญกับระบบกรองมากน้อยแค่ไหน? คำตอบคือมากที่สุดครับ ฉะนั้นในบทความนี้ผมจะอธิบายเรื่องระบบกรองต่างๆและการเซ็ทกรองด้วยครับ ^^
รูปกรองชนิดกรองล่าง
ระบบกรองที่เราจะพูดถึงหลักๆเลยก็มี 3 ระบบครับคือ กรองทางกายภาพ, กรองทางเคมี และกรองชีวภาพ ผมไม่ขออธิบายแบบรายยาวนะครับ เพราะบทความพวกนี้นั้นหาอ่านได้ในอินเทอร์เน็ตมากมาย เอาเป็นว่าใจความง่ายของกรองทั้ง 3 แบบคือ
1. กรองทางกายภาพ ก็คือการใช้วัสดุกรองจำพวกใยกรองหยาบ ใยกรองละเอียดหรือแม้แต่ชั้นหินชั้นทราย ซึ่งหน้าที่ของกรองชนิดนี้คือการนำเอาสิ่งสกปรกและเศษอาหารรวมไปถึงขี้ปลา หรืออะไรก็แล้วแต่ที่มันมีขนาดใหญ่เมื่อผ่านใยกรองก็จะถูกกักไว้ในชั้นนี้ เพื่อใ้ห้ออกจะระบบไป โดยเราต้องนำใยกรองไปล้างเองด้วย ไม่งั้นสิ่งสกปรกนั้นจะหมักหมมและเกิดพิษกลับเข้าสู่ระบบได้อีกนั้นเอง ^^
2. กรองทางเคมี คือการอาศัยหลักของปฏิกริยาทางเคมีของสารเคมีชนิดต่าง เช่น การใช้ถ่านคาร์บอน, UV, โอโซน รวมไปถึงโปรตีนสกิมเมอร์ หน้าที่ของกรองชนิดนี้ก็คือการนำเอาของเสียออกจากระบบเช่นเดียวกัน
3. กรองชีวภาพ คือการใช้สิ่งมีชีวิตเพื่อสิ่งมีชีวิต ^^ เช่นต้นไม้ช่วยดูดซับก็าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ใช้เรา ส่วนในตู้ปลานั้นกรองชีวภาพก็คือการใช้แบคทีเรียในการบำบัดน้ำหรือการใช้สาหร่าย ในตู้ปลาการ์ตูนของเรานั้นจะใช้เพียงกรองทางกายภาพกับกรองชีวภาพก็ได้ เพราะเราเลี้ยงปลาล้วน แต่หากเราใส่ปะการังกรองทางเคมีเช่น โปรตีนสกิมเมอร์ เป็นสิ่งที่จำเป็นเพราะปะการังจะปล่อยของเสียจำพวกเมือกออกมา ซึ่งกรองทางกายภาพและกรองชีวภาพ จะไม่สามารถจัดการกับเมือกเหล่านี้ได้นั้นเอง ซึ่งบทความของผมจะเน้นไปที่การเลี้ยงปลาการ์ตูนล้วนๆเท่านั้นนะครับ ^^
1. กรองทางกายภาพ ก็คือการใช้วัสดุกรองจำพวกใยกรองหยาบ ใยกรองละเอียดหรือแม้แต่ชั้นหินชั้นทราย ซึ่งหน้าที่ของกรองชนิดนี้คือการนำเอาสิ่งสกปรกและเศษอาหารรวมไปถึงขี้ปลา หรืออะไรก็แล้วแต่ที่มันมีขนาดใหญ่เมื่อผ่านใยกรองก็จะถูกกักไว้ในชั้นนี้ เพื่อใ้ห้ออกจะระบบไป โดยเราต้องนำใยกรองไปล้างเองด้วย ไม่งั้นสิ่งสกปรกนั้นจะหมักหมมและเกิดพิษกลับเข้าสู่ระบบได้อีกนั้นเอง ^^
2. กรองทางเคมี คือการอาศัยหลักของปฏิกริยาทางเคมีของสารเคมีชนิดต่าง เช่น การใช้ถ่านคาร์บอน, UV, โอโซน รวมไปถึงโปรตีนสกิมเมอร์ หน้าที่ของกรองชนิดนี้ก็คือการนำเอาของเสียออกจากระบบเช่นเดียวกัน
3. กรองชีวภาพ คือการใช้สิ่งมีชีวิตเพื่อสิ่งมีชีวิต ^^ เช่นต้นไม้ช่วยดูดซับก็าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ใช้เรา ส่วนในตู้ปลานั้นกรองชีวภาพก็คือการใช้แบคทีเรียในการบำบัดน้ำหรือการใช้สาหร่าย ในตู้ปลาการ์ตูนของเรานั้นจะใช้เพียงกรองทางกายภาพกับกรองชีวภาพก็ได้ เพราะเราเลี้ยงปลาล้วน แต่หากเราใส่ปะการังกรองทางเคมีเช่น โปรตีนสกิมเมอร์ เป็นสิ่งที่จำเป็นเพราะปะการังจะปล่อยของเสียจำพวกเมือกออกมา ซึ่งกรองทางกายภาพและกรองชีวภาพ จะไม่สามารถจัดการกับเมือกเหล่านี้ได้นั้นเอง ซึ่งบทความของผมจะเน้นไปที่การเลี้ยงปลาการ์ตูนล้วนๆเท่านั้นนะครับ ^^
- หน้าที่ของระบบกรอง -
กรองนั้นมีหน้าที่ในการบำบัดน้ำในตู้เราให้มีคุณภาพที่ปลาการ์ตูนหรือนีโม่จะสามารถอยู่อาศัยได้ ทำไมต้องมีกรอง? ก็เพราะของเสียจากการเลี้ยงปลานั้นเกิดขึ้นทุกๆวันครับ เช่นอาหารที่ปลากินเหลือหรือขี้ปลา กรองทางกายภาพก็จะนำเอาสิ่งเหล่านี้ออกจากน้ำไปก่อน และเมื่อของเสียต่างๆถูกย่อยสลายจะทำให้เกิดแอมโมเนีย (NH4) ซึ่งเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต จากนั้นแอมโมเนียก็จะถูกแบคทีเรีย Nitrosomonas เปลี่ยนให้เป็นไนไตร์ท (NO2) ซึ่งก็ยังเป็นพิษ และไนไตร์ทก็จะถูกเปลี่ยนเป็นไนเตรท (NO3) โดยแบคทีเรีย Nitrobactor กระบวนการนี้เรียกว่าไนตริฟิเคชัน ไนเตรทส่วนหนึ่งจะถูกใช้โดยแบคทีเรีย Denitrifying ได้เป็นก๊าซไนโตรเจนซึ่งจะระเหยออกจากน้ำกลับสู่อากาศในที่สุด ทำให้ความเป็นพิษจากของเสียต่างๆที่เกิดขึ้นภายในตู้นั้นหมดไป ซึ่งกระบวนการทั้งหมดเรียกว่า "วัฏจักรไนโตรเจน" อ่านแล้วก็อย่าเพิ่งท้อไปซะก่อนนะครับ จริงๆแล้วนั้นเมื่อเรามีกรอง และเซ็ทกรองสมบูรณ์แล้ววัฏจักรทั้งหมดจะดำเนินไปแบบอัตโนมัติเองเลยละครับ ^^ ซึ่งผู้เลี้ยงปลาส่วนใหญ่ที่ผมเจอนั้นมักเข้าใจว่าสาเหตุที่ปลาตายนั้น เกิดจากการขาดออกซิเจน (O2) หรือขาดอาหาร ซึ่งความจริงแล้วสาเหตุที่กล่าวมานั้นเกิดขึ้นน้อยมากเมื่อเทียบกับการตายจากความเป็นพิษของน้ำ T_T
- การเซ็ทกรอง -
แบคทีเรียนั้นจำเป็นต้องมีที่อยู่อาศัยครับ เช่นทราย หิน หรือ Bio Ball แต่การเลี้ยงปลาการ์ตูนซึ่งเป็นปลาทะเล ในที่นี้เราจะใช้วัสดุกรองชนิดใดก็ได้ แต่ผมแนะนำหินคีรีก้าและเศษปะการังหัก โดยวางหน้าที่ของหินคีรีก้าเป็นวัสดุกรองหลัก ส่วนเศษปะการังหักทำหน้าที่เป็น pH Buffer ครับ (อ่านรายละเอียดเรื่องวัสดุกรองชนิดต่างๆได้ที่บทความครับ) เมื่อเราเริ่มต้นเดินระบบกรองในระยะแรกให้เราใส่หัวเชื้อแบคทีเรียเช่น Bio Digest 1 หลอด และใส่ของเสียลงไปในน้ำด้วย แล้วเราจะเอาของเสียจากที่ไหนละ ถ้าเอาง่ายๆก็อาหารปลานั้นแหละ ผสมน้ำประมาณครึ่งแก้ว บี้ๆ ให้ละลายเทลงไปในน้ำพร้อมเติม Bio Digest 1 หลอด หลังจากนั้นให้เติม Bio Digest วันละ 1 หลอดเป็นเวลา 7 วัน หลังจาก 7 วันให้เติม Bio Digest 1 หลอดทุกๆ 1 อาทิตย์ และหยุดใส่เมื่อตรวจไม่พบแอมโมเนีย การตรวจวัดค่าแอมโมเนียในน้ำโดยใช้ชุดทดสอบแอมโมเนีย (NH3/NH4 Test) ควรตรวจวัดทุกๆ 3-7 วันต่อครั้ง ซึ่งในช่วงแรกนั้นระดับแอมโมเนียจะสูงมากและจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงที่เกิดแอมโมเนียระดับของไนไตรท์ก็จะเพิ่มขึ้นจากนั้นระดับไนเตรทก็จะเพิ่มขึ้น (เราสามารถวัดค่าไนไตรท์ได้ด้วยชุดทดสอบ NO2) สุดท้ายเราจะวัดค่าแอมโมเนียน้อยมาก หรือไม่พบเลย (0 mg/l) ซึ่งระยะเวลานั้นขึ้นอยู่กับปริมาณแบคทีเรียในระบบกรองและปริมาตรกรอง ไม่สามารถกำหนดระยะได้ชัดเจน เช่น ในตู้ขนาด 24" หากเราใช้กรองแขวนซึ่งใส่ปะการังได้ 1 กิโล อาจใช้ระยะเวลา 2 เดือนในการเซ็ทกรอง แต่หากเราใช้กรองล่างซึ่งใส่ปะการังได้ 10 กิโล อาจใช้ระยะเวลา 1 เดือนในการเซ็ทกรองนั้นเอง
สิ่งที่สำคัญในช่วงแรกนี้คือห้ามลงปลาเด็ดขาดเพราะระบบเรายังไม่พร้อมครับ ให้เราวัดค่าแอมโมเนีย,ไนไตรท์,ไนเตรท เฉพาะค่าใดค่าหนึ่งหรือวัดมันทุกค่าก็ได้ ให้เป็น 0mg/l ซะก่อนแล้วค่อยลงปลา แต่การวัดค่าใดค่าหนึ่งอาจทำให้เราพลาดได้ครับเช่น วัดค่าแอมโมเนียได้ 0mg/l แล้วแต่ค่า NO2 ยังสูงอยู่ซึ่งหากเราใส่ปลาจำนวนมากเกินไปปลาอาจตายได้เนื่องจากกรองยังเซ็ทตัวไม่เต็มที่ครับ
สิ่งที่สำคัญในช่วงแรกนี้คือห้ามลงปลาเด็ดขาดเพราะระบบเรายังไม่พร้อมครับ ให้เราวัดค่าแอมโมเนีย,ไนไตรท์,ไนเตรท เฉพาะค่าใดค่าหนึ่งหรือวัดมันทุกค่าก็ได้ ให้เป็น 0mg/l ซะก่อนแล้วค่อยลงปลา แต่การวัดค่าใดค่าหนึ่งอาจทำให้เราพลาดได้ครับเช่น วัดค่าแอมโมเนียได้ 0mg/l แล้วแต่ค่า NO2 ยังสูงอยู่ซึ่งหากเราใส่ปลาจำนวนมากเกินไปปลาอาจตายได้เนื่องจากกรองยังเซ็ทตัวไม่เต็มที่ครับ
ที่มา:http://likenemo.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น