ชมรมตู้ปลาทะเลไทย ได้เพิ่มรูปภาพใหม่ในอัลบั้ม: ตู้ทะเล
17 พฤษภาคม 2012 ·
การเริ่มตั้งตู้ปลาทะเล
ในบทความนี้ผมจะพูดถึงการเริ่มต้นตั้งตู้กันแบบง่ายๆ ผู้ที่สนใจสามารถทำได้ในทางปฎิบัติโดยจะไม่กล่าวถึงกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มากนัก
อุปกรณ์
1 ตู้ปลา ตู้ปลาทะเลที่นิยมใช้กันมีสองแบบคือแบบกรองล่างและแบบกรองข้าง ทั้งสองแบบใกล้เคียงกันในหลักการแต่แบบกรองล่างจะมีข้อดีกว่าตรงที่มีพื้นที่ให้ติดตั้งอุปกรณ์เสริมต่างๆได้มากกว่าซึ่งจะมีผลทำให้เลี้ยงสิ่งมีชีวิตต่างๆได้มากกว่าและแน่นอนว่ามันจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า ในที่นี้เพื่อความง่ายในทางปฎิบัติสำหรับผู้เริ่มต้นผมจะเริ่มจากตู้กรองข้างทั่วๆไปขนาด 36x18x18 นิ้ว พร้อมขาตั้ง
2 หัวปั๊มพาเวอร์เฮด ขนาดสองพันลิตรต่อชั่วโมง
3 อุปกรณ์วัดความเค็ม มีทั้งแบบแท่ง แบบตวง ทั้งสองแบบมักจะให้ค่าที่มีความคลาดเคลื่อนสูง สำหรับอุปกรณ์ชนิดนี้นับว่ามีความสำคัญสำหรับการเลี้ยงผมจึงแนะนำให้ใช้แบบกล้องส่องซึ่งมีความแม่นยำสูงแม้ว่าราคาจะสูงกว่า(ประมาณพันต้นๆ)แต่ก็คุ้มที่จะหามาใช้
4 เกลือวิทยาศาสตร์สำหรับทำน้ำเค็ม แนะนำเกลือไม่ต้องแพงแต่ขอให้มีคุณภาพ เกลือจีนไม่มีฉลากกำกับไม่แนะนำ สำหรับตู้ 36นิ้ว ใช้เกลือประมาณ หกถึงแปดกิโลแล้วแต่ว่าจะผสมให้เค็มเท่าไหร่
5 แบกทีเรียตั้งต้น จะเป็นหลอดหรือเป็นขวดก็ได้ไม่แตกต่างแต่ของไทยที่ใส่ขวดน้ำพลาสติกมาขายไม่แนะนำ
6 วัสดุกรอง
6.1 ใยกรองไฟเบอร์
6.2 เศษปะการังหัก ใส่ถุงตาข่ายเล็ก ห้าถุงเอาเบอร์เล็กๆหนักๆหน่อย แบบใหญ่ๆเบาๆไม่เอา
7 หินเป็น หินเป็นมีความสำคัญกับกระบวนการบำบัดน้ำของตู้ทะเลเป็นอย่างมาก การเลือกซื้อจึงมีความสำคัญ หินเป็นที่ดีไม่ควรมีกลิ่นเน่า และไม่ควรมีตัวอะไรติดมาจะดีที่สุด(สำหรับมือใหม่) ถ้าจะให้ดีควรเลือกหินเป็นจากทะเลจะดีกว่าหินตายที่นำมาแช่ให้เป็น ตู้ 36เริ่มแรกควรใช้หินก้อนใหญ่หน่อยห้าก้อนขึ้นไป
8 ทรายทะเลหรือเศษปะการังป่นรองก้นตู้ จะใช้หรือไม่ก็ได้ ในที่นี้แนะนำอย่างละครึ่งผสมกันรองบางๆก้นตู้ ถ้าซื้อเป็นกระสอบจะถูกกว่าแบ่งขาย
เริ่มตั้งตู้
เมื่อได้อุปกรณ์ต่างๆมาครบแล้วเริ่มจากหาที่ตั้งตู้ ที่ตั้งตู้ไม่ควรโดนแดดเพราะจะทำให้ตะใคร่ขึ้นได้ง่ายและควรเป็นที่ที่อากาศไม่ร้อน เมื่อหาที่ได้แล้วให้ติดตั้งพาเวอร์เฮด(ไม่ต้องใส่สายอาอาศ) จากนั้นใส่เศษปะการังลงไปจนเต็ม ชั้นบนสุดรองด้วยแผ่นกรองหยาบ เราจะไม่ใช้ไบโอบอล จากนั้นใส่น้ำจืดลงไปให้เต็มเปิดปั๊มดูว่าน้ำไหลเวียนดีหรือไม่ มีรอยรั่วตรงไหนหรือไม่ ระหว่างนี้ให้สังเกตุระดับน้ำในช่องกรอง พยายามจัดการให้ระดับน้ำในช่องกรองอยู่ที่สามส่วนสี่ของระดับน้ำในตู้ โดยเติมน้ำลงไปในตู้ถ้าระดับน้ำต่ำและตักออกถ้าระดับน้ำสูงเกินไป
รองน้ำใส่ถังพลาสติก 200ลิตร (หาซื้อได้ตามชานเมือง ถังที่เอามาทำถังขยะกันนั่นและ) จนเกือบเต็ม ใส่เกลือลงไปหกกิโลก่อน เติมน้ำต่อจนเต็มแล้วคนให้เกลือละลายให้หมด จากนั้นใช้ปั๊มอ๊อกกับหัวทรายเป่าทิ้งไว้หนึ่งคืน วันรุ่งขึ้นวัดความเค็มว่าได้เท่าไหร่ ช่วงแรกนี้ไม่ต้องเค็มมากเอาซัก 25pptก็พอ แต่ถ้าวัดแล้วเค็มเกินกว่า 25ก็ไม่เป็นไร ถ้าเค็มต่ำกว่าให้เพิ่มเกลือลงไป
รองน้ำใส่ถังพลาสติก 200ลิตร (หาซื้อได้ตามชานเมือง ถังที่เอามาทำถังขยะกันนั่นและ) จนเกือบเต็ม ใส่เกลือลงไปหกกิโลก่อน เติมน้ำต่อจนเต็มแล้วคนให้เกลือละลายให้หมด จากนั้นใช้ปั๊มอ๊อกกับหัวทรายเป่าทิ้งไว้หนึ่งคืน วันรุ่งขึ้นวัดความเค็มว่าได้เท่าไหร่ ช่วงแรกนี้ไม่ต้องเค็มมากเอาซัก 25pptก็พอ แต่ถ้าวัดแล้วเค็มเกินกว่า 25ก็ไม่เป็นไร ถ้าเค็มต่ำกว่าให้เพิ่มเกลือลงไป
เมื่อได้น้ำเค็มแล้วให้ถ่ายน้ำจืดออกแล้วเติมน้ำเค็มที่ทำไว้ลงไปแทน(ถ้าจะปูทรายก็ลงเลยครับระวังน้ำล้นด้วย)จากนั้นเติมแบกทีเรียลงไปตามที่ บ.ผู้ผลิตกำหนด (น้ำตู้เรา 200ลิตร) วันรุ่งขึ้นโปรยอาหารปลาลงไปหน่อยหรือเศษกุ้งก็ได้แต่ไม่ต้องมากเพื่อเป็นอาหารแบกทีเรีย ในขั้นตอนแรกนี้เราจะเลี้ยงแบกทีเรียก่อน
พอว่างคราวนี้เราจะไปซื้อหินเป็น ขั้นตอนนี้สำคัญ ค่อยๆหา ค่อยๆดู ไปเดินเรื่อยๆ มีก้อนถูกใจแค่ไหนเอาแค่นั้น ไม่จำเป็นต้องซื้อมาทีละเยอะๆ พอได้มาก็เอาลงตู้จัดตามใจชอบ
คอยเติมแบกทีเรียอาทิตย์ละครั้ง อาหารด้วย ครบสามอาทิตย์ไม่ต้องเติมอะไรอีกต่อไปแต่ในตู้ต้องมีหินเป็นเยอะแล้วนะครับ รอไปจนถึงอาทิตย์ที่หกแล้วจะมาต่อให้ครับ
คอยเติมแบกทีเรียอาทิตย์ละครั้ง อาหารด้วย ครบสามอาทิตย์ไม่ต้องเติมอะไรอีกต่อไปแต่ในตู้ต้องมีหินเป็นเยอะแล้วนะครับ รอไปจนถึงอาทิตย์ที่หกแล้วจะมาต่อให้ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น