เลี้ยงปลาการ์ตูนแบบประหยัดสุดๆ
หลังจากเรารู้กันแล้วว่าปลาการ์ตูนนั้นเลี้ยงง่ายมากๆ ทีนี้หลายๆคนคงจะติดใจกันเรื่องงบประมาณ ราคาในการเลี้ยงเจ้านีโม่ ว่ามันจะแพงขนาดไหน เริ่มต้นยากหรือไม่ ตามมาอ่านบทความนี้เลยครับ ผมได้ลงตัวอย่างการเลี้ยงปลาการ์ตูนแบบราคาย่อมเยาว์ที่ได้ทดลองเองมาฝากกันครับ
เรามาดูอุปกรณ์การเลี้ยงเจ้าปลานีโม่กันก่อน ซึ่งในบทความนี้จะแยกระหว่างอุปกรณ์ที่จำเป็น อุปกรณ์ที่ไม่จำเป็น และอุปกรณ์ที่ควรจะมี ซึ่งอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นและอุปกรณ์ที่ควรจะมี จะเป็นสิ่งที่ทำให้ราคาค่าอุปกรณ์สูงขึ้นนั้นเอง แต่ไม่ต้องกังวลไปครับเพราะอุปกรณ์นั้นเราไม่ได้ซื้อภายในครั้งเดียว ซึ่งผมจะบอกสิ่งที่ต้องซื้อในระยะเวลาต่างๆด้วยครับ^^
วันที่ 1 เริ่มซื้อ
1.ตู้ปลา
อะฮา แน่นอนจะเลี้ยงปลาก็ต้องมีตู้ปลาซึ่งบทความเรื่อง การเลือกตู้ปลาสำหรับเลี้ยงปลาการ์ตูน ผมได้เขียนไว้แล้วถ้าใครยังไม่ได้อ่านไปอ่านกันได้ครับ วันนี้เราจะซื้อตู้ปลาขนาด 24 นิ้ว ไม่มีขอบ ไม่มีขาน หนา 5 มิล ราคา 500 บาทมา 1 ตู้ อย่าลืมโฟมนะ ถ้าร้านที่เราซื้อไม่มีโฟมแถม ก็ต้องหาซื้อเอานะ
2.กรองแขวน
กรองเราใช้กรองแขวน บทความเรื่อง กรองแขวน ก็เขียนไว้แล้ว เหตุที่เราใช้กรองชนิดนี้ก็เพื่อให้เข้ากับคอนเซ็ปต์เลี้ยงแบบราคาถูกเท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่ากรองแบบนี้เราจะไม่เลี้ยงปลาเยอะเกินไป คือไม่เกิน 10 ตัวสำหรับปลาการ์ตูนขนาด 2 เซน และไม่เกิน 5 ตัวสำหรับปลาการ์ตูนขนาด 1.5 นิ้วครับ กรองแขวนยี่ห้อนี้ก็ไม่ได้ดีเลิศอะไร ค่าตัวก็ 350 บาทเท่านั้นครับ
3.เศษปะการังหัก 1 กิโลกรัม
เศษปะการังหักเรานำมาเป็นวัสดุกรอง จริงๆแล้วจะใช้วัสดุกรองชนิดอื่นก็ได้ ลองอ่านบทความด้านซ้ายเรื่องวัสดุกรองดูนะครับ ว่าเราชอบวัสดุกรองแบบไหน กรองเราใส่วัสดุกรองได้ประมาณ 1 กิโล เราก็ซื้อเศษปะการังหัก 1 กิโล ราคา 40 บาทครับ แนะนำบางร้านที่จตุจักรมีขายแบบที่เพาะแบคทีเรียไว้แล้ว ซื้อแบบนั้นก็จะประหยัดเวลาได้มากทีเดียว แต่ห้ามแห้งละ^^
4.Bio digest 2 หลอด
ตัวนี้คือหัวเชื้อแบคทีเรียที่เป็นพระเอกในการบำบัดน้ำ ราคาหลอดละ 40 บาท เราจะซื้อมากกว่านี้ก็ได้นะ^^
5.เกลือวิทย์ 3 ถุง
จริงๆแล้วมีเกลือที่ราคาถูกกว่านี้แต่ถุงไม่มีรายละเีอียดอะไรเลย สำหรับมือใหม่แนะนำแบบมียี่ห้อก่อนครับ เกลือยี่ห้อมารีนเนียมขนาด 1.5 กิโลกรัมราคา 70 บาท จัดไป 3 ถุง ใช้ครั้งแรกประมาณ 1 ถุงครึ่ง ที่เหลือเตรียมเผื่อเปลี่ยนน้ำ หลังจากนั้นจะซื้อแบบไม่มียี่ห้อก็ได้ครับ 6 กิโลราคา 250 บาท
6.ไฮโดรมิเตอร์หลอดแก้ว
ไฮโดรมิเตอร์แบบหลอดแก้วหรือแบบตวงก็ได้ เอาไว้วัดความเค็ม 90 บาท
7.ปั้มลม หัวทราย สายอ๊อก (ถ้ามีแล้วก็ไม่ต้องซื้อนะ)
เราจะใช้ปั้มลมในขั้นตอนการผสมน้ำเท่านั้น ประมาณ 5 วันแรก จากนั้นก็ไม่ต้องใช้แล้วครับ หรือหากมีถังน้ำสำรองที่ผสมเกลือเตรียมไว้เพื่อเปลี่ยนน้ำก็เป่าลมไว้ในถังก็ได้ครับ
ซื้อวันแรกเท่านี้ห้ามซื้อปลามาตอนนี้ละ กลับบ้านเลยดีกว่า สรุปค่าเสียหายวันแรกนี้กันดีกว่า
- ตู้ปลา 500 บาท
- กรองข้าง 350 บาท
- Bio digest 2 หลอด 80 บาท
- เศษปะการังหัก 1 กิโล 40 บาท
- ไฮโดรมิเตอร์หลอดแก้ว 90 บาท
- เกลือมารีนเนียม 3 ถุง 210 บาท
สรุปจัดไป 1270 บาทเท่านั้นในวันนี้ ชิวๆ^^
กลับมาเริ่มระบบเลยดีกว่า
ล้างตู้ก่อนเลยห้ามใช้น้ำยาต่างๆนานา ใช้น้ำเปล่าเนี้ยแหละครับ เวลาวางตู้ให้ใช้ผ้ารองพื้นก่อนนะครับ เดียวตู้จะเป็นรอยหรือแตกได้ ส่วนสิ่งที่ใช้เช็ดให้ใช้ผ้านุ่มๆหรือฟองน้ำดีๆหน่อยอย่าใช้ใยขัดละ เดียวตู้เป็นรอยหมด ซื้อตู้เกรดนี้แล้วต้องดูแลดีๆหน่อยครับ เช็ดๆล้างๆให้ใสปิ๊ง^^
ทดสอบตู้ปลา
การทดสอบตู้ปลานั้นจำเป็นมากถ้ามีรั่วหรือกระจายขึ้นมาจะได้อยู่ในห้องน้ำเนี้ยแหละ รองด้วยโฟมใส่น้ำให้เต็มเอาแบบล้นๆเลยครับยังไงตู้ต้องรับได้ ทิ้งไว้สัก 5 นาทีก็รู้แล้วละ ถ้ามีรั่วก็ต้องยกกลับไปเคลมกันละนะ
ล้างวัสดุกรอง
ระหว่างรอลุ้นตู้อยู่เราก็มาล้างวัสดุกรองดีกว่า เศษปะการังนั้นต้องล้างหลายๆน้ำเอาเศษเอาฝุ่นออกไป แช่ทิ้งไว้สักพัก แล้วก็เอาไปใส่กรองแขวนซะ เปิดกรองเทสดูปรับๆเล่นๆซะตอนนี้เลยนะ ^^
ยกไปที่ชอบ^^
เอาน้ำออกให้หมดแล้วยกตู้ไปตั้งที่เราชอบอะนะ จากนั้นใส่น้ำตามระดับที่เราต้องการ อาจจะต่ำกว่าขอบลงมาประมาณ 1 นิ้วแล้วให้เราขีดเส้นไว้ด้วยนะ วัดครับวัดความสูงของระดับน้ำจากนั้นนำไปคำนวณปริมาตรน้ำ (คลิกที่นี้) ทีนี้เราก็จะรู้ว่าน้ำในตู้เรามีกี่ลิตร ก็จะประมาณการใส่เกลือได้นะ
ใส่เกลือ
ใส่เกลือผสมลงไปครับ ปริมาณดูตามถุงครับยี่ห้อนี้ 1.5 กิโล ได้น้ำ 38 ลิตร เมื่อผสมตามนี้จะได้ความเค็ม 34 ppt ซึ่งเราไม่ต้องการเค็มถึง 34 ppt ความเค็มที่เราต้องการคือ 30 ppt หรือความหน่วง 1.0180-1.0200 เท่านั้น ก็ให้เราใช้ไฮโดรมิเตอร์วัดเอาครับ (ต้องทำให้เกลือละลายหมดก่อนและรอให้น้ำนิ่งๆ แล้วค่อยวัด)
อัดลมลงไปทิ้งไว้ 5 วัน
อัดลมลงไปทิ้งไว้ 5 วันนะ จึงจะใ้ช้ได้เพราะเป็นน้ำใหม่หมด (ถ้าเป็นการเติมไม่กี่ % ผสมใหม่แล้วเทลงได้เลย) ระหว่างนี้หาอะไรมาปิดน้ำหน่อยก็ดี เพราะน้ำเดือดกระเดนลงพื้น บ้านเหนียว^^
วันที่ 2 ใส่ Bio Digest
ใส่ Bio Digest
ใส่ Bio Digest 1 หลอด วันที่ 2 โดยใส่ไปในน้ำนั้นแหละ เอาอาหารปลาใส่ลงในน้ำนิดหน่อยทิ้งไว้แบบนั้นเพื่อให้เกิดแอมโมเนียเป็นอาหารของแบคทีเรียต่อไป และเปิดกรองเดินไว้ตลอดเลยนะ
วันที่ 7 ใส่ Bio Digest
ใส่ Bio Digest
ใส่ Bio Digest อีก 1 หลอด แค่นั้นแหละ อาหารปลาไม่ต้องเพิ่มนะ (ถ้าซื้อ Bio Digest มาเยอะก็ให้ใส่วันละหลอดทุกวันจนครบ 7 วัน หลังจากนั้นใส่อาิทิตย์ละหลอด)
วันที่ 30 ลองตู้
วัดค่าแอมโมเนียหรือลงปลาลองตู้
หากเราืมีชุดวัดแอมโมเนีย (NH3/NH4) ก็จะดีครับรอให้แอมโมเนียเป็น 0mg/l และวัดไนไตรท์ (NO2) ได้เท่ากับ 0mg/l แล้วค่อยไปหาซื้อปลาก็ได้ แต่ถ้าไม่มี วันที่ 30 นี้ (เงินเดือนออกซะแระ^^) ก็ให้เราไปซื้อปลาการ์ตูนมาลองตู้ครับ เน้นตัวเล็กสัก 2 เซน 1-2 ตัวพอนะ และก็อาหารปลาทะเลเม็ดเล็กๆหรือแบบแผ่นก็ได้ วันนี้จัดงบไปประมาณ 350 บาท (ปลาตัวละ 80-100, อาหารปลา 150)
ก่อนลงปลาให้ดูดเศษอาหารที่เราใส่ไว้ออกให้หมดเปลี่ยนน้ำสัก 30% ปรับน้ำให้ปลาการ์ตูนด้วยนะก่อนลงตู้ตามบทความการเลือกซื้อปลาการ์ตูน
ก่อนลงปลาให้ดูดเศษอาหารที่เราใส่ไว้ออกให้หมดเปลี่ยนน้ำสัก 30% ปรับน้ำให้ปลาการ์ตูนด้วยนะก่อนลงตู้ตามบทความการเลือกซื้อปลาการ์ตูน
เลี้ยงเจ้า 2 ตัวนี้ให้รอด
ภาระกิจอันใหญ่หลวงครับ เลี้ยงเจ้า 2 ตัวนี้ให้รอดเป็นระยะเวลา 30 วัน แล้วค่อยลงปลาเพิ่มอีกนะ ควรลงเพิ่มครั้งละ 2 ตัวนะครับ
สรุปค่าเีสียหายก็เพียง 1,620 บาทเท่านั้น
ฝากไว้
สิ่งอื่นที่เราอาจจะซื้อแต่ผมไม่นับเพราะมันไม่ได้เป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐาน เช่น รางไฟประมาณ 500 บาท, Heater 100w ไม่เกิน 250 บาทหรือชุดวัดค่าน้ำ หินเป็นตกแต่งตู้ อะไรประมาณนี้ สิ่งเหล่านี้ควรจะมีเพิ่มอีกนิดหน่อยระบบก็สมบูรณ์แล้วละครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น