วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
























ปะการังคืออะไร

ปะการัง เป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังอยู่ในกลุ่มของไดนาเรีย ซึ่งเคยเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่าซิเลนเทดเรท มีอยู่บางชนิดที่เป็นตัวเดียวแต่มีขนาดใหญ่ เช่น ปะการังดอกเห็ดบางชนิด หินปูนซึ่งเป็นโครงสร้างแข็งนั้นมีตัวปะการัง เรียกว่า โพลิป (polyp) เป็นผู้สร้างขึ้น โพลิปนั้นมีลักษณะอ่อนนุ่มค่อนข้างโปร่งใส
รูปร่างเป็นทรงกระบอกปลายล่าง ตันด้านบนมีปากอยู่ตรงกลาง และมีหนวดเรียงรายอยู่โดยรอบเป็นจำนวน 6 หรืออนุกรม 6 ที่หนวดนี้มีเซลล์สำหรับต่อย
เพื่อให้ปะการังป้องกันตนเองและหาอาหาร

ปะการัง หาอาหารกินด้วยการจับเหยื่อตัวเล็กๆ ที่ล่องลอยมากับกระแสน้ำ โดยปล่อยเข็มพิษออกมาจากเซลล์สำหรับต่อยในเวลากลางคืนปะการังจะแผ่ขยายหนวด ควานหาเหยื่อและใช้เข็มพิษจับเหยื่อเป็นอาหาร จากเหตุนี้ทำให้ลักษณะที่ปรากฎของปะการังในตอนกลางวันต่างจากลักษณะของปะการังกลางคืนค่อนข้างมาก

การสืบพันธุ์ของปะการัง

ปะการังมีการสืบพันธุ์ได้ 2 แบบ คือ

1. แบบอาศัยเพศ วิธีนี้ปะการังส่วนใหญ่ที่เป็นตัวๆ มากมายประกอบกันเป็นโคโลนีนั้น เมื่อโตเต็มที่แล้วก็จะปล่อยไข่หรือสเปิร์มของตัวมันออกมา บางชนิดในโคโลนีเดียวกันจะมีทั้งสองเพศคือ ปล่อย มาทั้งสเปิร์มและไข่ สเปิร์มและไข่ของปะการังเมื่อออกมาแล้ว จะผสมกันเป็นตัวอ่อน เรียกว่า พลานูลา (Planula) เป็นที่น่าสนใจว่าการผสมพันธุ์ของปะการังด้วย วิธีนี้จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กันในทะเลสำหรับเมืองไทยอยู่ในระยะเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ซึ่งตัวอ่อนเหล่านี้จะขึ้นมาลอยอยู่ในน้ำทะเลเต็มไปหมด จนบางครั้งเข้าใจผิดว่าเป็นกาเพิ่มจำนวนของแพลงตอน พืช ลูกปะการังตัวเล็กๆจะล่องลอยไปตามกระแสน้ำอยู่ในช่วงระยะเวลาหนึ่งจนกระทั่งเจอพื้นที่ๆ เหมาะสมจะลงเกาะกับวัตถุที่แข็ง เช่น ก้อนหิน หรือซากปะการัง จากนั้นปะการังก็จะเริ่มสร้างโครงสร้างแข็งที่เป็นหินปูนขึ้นมา
เป็นโครงร่าง

2. แบบไม่อาศัยเพศ นั่นคือ ปะการังจะแตกหน่อออกไปเรื่อยๆ ขยายออกไปตามลักษณะของปะการังแต่ละชนิด ทำให้โคโลนีใหญ่ขึ้น ปะการังถ้าถูกทำลาย
จะต้องใช้การฟื้นตัวนานเท่าใด? นักวิทยาศาสตร์พยายามศึกษาอัตราการเติบโตของปะการัง โดยใช้วิธีการหลายรูปแบบ ทั้งการวัดโดยตรง การย้อมสี รวมไป
ถึงการใช้กัมมันตรังสี ซึ่งทำให้วัดอัตราการเติบโตของปะการังแต่ละชนิดได้ โดยทั่วๆ ไปปะการังแผ่นและปะการังกิ่งจะมีอัตราการเจริญเติบโตที่ค่อนข้างเร็วกว่า
อย่างอื่น อาทิ ปะการังเขากวางบางชนิดจะเจริญเติบโตเฉลี่ยได้กว่า 10 เซนติเมตรต่อปี ในขณะที่ปะการังก้อนอัตราเติบโตเฉลี่ยจะมีเพียงประมาณ 1 - 2 เซนติเมตรต่อปีเท่านั้น ดังนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายที่ปะการังถูกทำลายแล้วจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว

ลักษณะของปะการัง
เนื่องจากปะการังมีรูปร่างหลากหลายและมีร่วม 1,000 ชนิด บางชนิดก็กลับมีรูปร่างแตกต่างกันไปตามบริเวณที่อยู่อาศัยด้วย จึงนับเป็นการยากที่จะรู้จักชื่อปะการัง ยกเว้นการศึกษาอย่างจริงจัง ดังนั้นเพื่อความสะดวกในการรู้จักปะการังในขั้นต้น โดยสามารถแบ่งตามลักษณะที่เห็นออกได้เป็น 7 กลุ่มคือ

1. ปะการังก้อน (Massive Coral) มีลักษณะเป็นก้อนตันคล้ายก้อนหิน เช่น ปะการังสมอง
2. ปะการังกึ่งก้อน (Submassive Coral) มีลักษณะเป็นแท่งรวมกันเป็นกระจุกโดยไม่ได้ติดเป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมด
3. ปะการังเคลือบ (Encrusting Coral) มีลักษณะเติบโตขยายคลุมไปตามลักษณะของพื้นผิวที่มันห่อหุ้มอยู่
4. ปะการังกิ่งก้าน (Branching Coral) มีลักษณะเป็นกิ่งก้านแตกแขนง
5. ปะการังกลีบซ้อน (Foliaceous Coral) มีลักษณะเป็นแผ่นรวมกันเป็นกระจุกแบบใบไม้หรือผัก
6. ปะการังแผ่น (Tabulate Coral) มีลักษณะที่ขยายออกในแนวราบคล้ายโต๊ะอาจซ้อนกันเป็นชั้นๆ
7. ปะการังเห็ด (Mushroom Coral) มีลักษณะเป็นปะการังก้อนเดี่ยวๆ

นอกจากนี้แล้ว ก็ยังมีสัตว์ 2 ประเภทที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มเดียวกับปะการัง แต่มีลักษณะภายนอกคล้ายปะการังมาก คือ ปะการังสีน้ำเงิน (Blue coral) ซึ่งในสภาพ
ธรรมชาติขณะมีชีวิตอยู่จะมีสีเทา แต่เมื่อตายแล้วจะเห็นชัดว่าเป็นปะการังทั้งก้อน อีกประเภทหนึ่งคือปะการังไฟ (Fire coral) พวกนี้มีสีน้ำตาลเหลือง เมื่อไปสัมผัสโดนกับพวกนี้แล้วจะถูกเข็มพิษ ซึ่งมีความรุนแรงมากกว่าปะการัง ทำให้เกิดอาการแพ้ได้

รูปแบบและการแพร่กระจายของปะการังในประเทศไทย
1. กลุ่มปะการัง (Coral Community) เป็นบริเวณที่มีก้อนปะการังกระจายอยู่ตามพื้น จะไม่พบหินปูนที่เกิดจากการสะสมทับถมกันของปะการังได้เด่นชัด
ความลาดชันของพื้นเป็นไปตามลักษณะของชายฝั่ง มิใช่เกิดจากการสร้างแนวปะการังการแพร่กระจายของปะการังจึงเป็นไปตามลักษณะฝั่ง จะพบกลุ่มปะการังในบริเวณที่มีพื้นแข็ง เช่น บริเวณที่มีโขดหิน บริเวณข้างเกาะเป็นต้น

2. แนวปะการัง (Coral Reef) บริเวณนี้จะเห็นการสะสมตัวของหินปูนที่เกิดจากปะการัง ซึ่งตายทับถมอยู่ด้านล่างของปะการังมีชีวิตชัดเจน โดยทั่วไปแนว
ปะการังนี้มักจะอยู่ห่างจากชายฝั่งออกมา โดยมีชายหาดด้านในเป็นพื้นทราย ถัดออกมาก็จะพบแอ่งน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งมีปะการังอยู่ประปรายในบริเวณที่น้ำไม่ลึกนัก เรียกว่า Reef Flat เวลาน้ำลงมากๆ ปะการังจะโผล่เหนือน้ำเล็กน้อยเป็นสาเหตุที่ด้านบนผิวหน้าของปะการังจะตายแล้ว จึงมาถึงแนวปะการัง ซึ่งมีปะการังขึ้นทับถมกันมากมาย เป็นบริเวณที่มีพลังงานหมุนเวียนมาก เพราะในบริเวณนี้จัดได้ว่าเป็นบริเวณ ปะทะคลื่น (Wave Front)

ลักษณะต่างๆ ของปะการังในประเทศไทย
อ่าวไทยฝั่งตะวันออก
จังหวัดตราด พบที่หมู่เกาะช้าง หมู่เกาะหมาก และหมู่เกาะกูด เป็นบริเวณที่เห็นความเป็นแนวปะการังชัดเจน มีหลายบริเวณที่ปะการังงดงามและหลากหลายมาก จัดเป็นบริเวณที่มีแนวปะการังที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย
จังหวัดจันทบุรี เนื่องจากมีแม่น้ำเวฬุเปิดออกบริเวณจังหวัดนี้ จึงทำให้มีป่าชายเลนขนาดใหญ่ จากการที่น้ำจืดและตะกอนลงมามาก ปะการังที่มีอยู่
จึงไม่น่าสนใจเท่าใด
* จังหวัดระยอง พบที่หมู่เกาะเสม็ด หมู่เกาะกุฏี และหมู่เกาะมัน ปะการังที่พบในบริเวณนี้เริ่มเห็นการสร้างแนวปะการังจึงมีการซ้อนอยู่เป็น ชั้นๆ มีความหลากหลายและเติบโตดี
* จังหวัดชลบุรี พบปะการังที่หมู่เกาะสีชังเป็นเกาะแรก หมู่เกาะไผ่ หมู่เกาะล้าน และหมู่เกาะคราม ปะการังในบริเวณสีชังอันเป็นอ่าวไทยตอนในจะมีลักษณะเป็นเพียงกลุ่มปะการัง เท่านั้น เมื่อเลยออกไปไกลจากอ่าวไทยตอนในได้แก่ หมู่เกาะครามจะมีความหลากหลายและการเจริญของปะการังดีกว่าตอนในของอ่าว

อ่าวไทยฝั่งตะวันตก
* จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีแนวปะการังพัฒนาดีมาก บางบริเวณสวยงาม บางแห่งทับถมของปะการังทำให้ตื้นขึ้นมาเป็นเกาะเล็กๆปะการังพบที่หมู่เกาะเต่า หมูเกาะพะงัน หมู่เกาะสมุย หมู่เกาะแตน และหมู่เกาะอ่างทอง
* จังหวัดชุมพร ปะการังมีการทับถมกันจนเป็นแนวปะการังแล้ว มีการเจริญของปะการังดี ปะการังพบที่หมู่เกาะจระเข้ หมู่เกาะง่ามเกาะไข่ เกาะทะลุ หมู่เกาะมาตรา หมู่เกาะมัดหวาย และหมู่เกาะค้างเสือ
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นจังหวัดแรกทางชายฝั่งด้านนี้ที่พบปะการัง ซึ่งมีลักษณะเป็นกลุ่มของปะการังมากกว่าเป็นแนวปะการังที่หมู่เกาะเลื่อม
เกาะจาน

ทะเลอันดามัน

* จังหวัดสตูล เป็นจังหวัดที่มีป่าชายเลนมาก ห่างจากฝั่งออกไปจึงจะมีปะการัง พบที่หมู่เกาะตะรุเตา และหมู่เกาะอาดัง - ราวี
* จังหวัดตรัง อุดมไปด้วยป่าชายเลนและหญ้าทะเลบริเวณชายฝั่ง การเติบโตของปะการังที่ค่อนข้างดีนั้นพบที่หมู่เกาะไหง และหมู่เกาะรอก
* จังหวัดกระบี่ บริเวณชายฝั่งมีป่าชายเลนและมีแม่น้ำ ต้องออกไปห่างฝังปะการังจึงจะดี พบได้ที่เกาะด้ามหอก หมู่เกาะพีพี และหมู่เกาะลันตา
* จังหวัดภูเก็ต พบตามชายฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ต ส่วนทางชายฝั่งด้านตะวันออกมีป่าชายเลน และเป็นทรายปนเลน ต้องออกไปห่างภูเก็ค
เช่น เกาะห้อง จึงพบแนวปะการังได้ ส่วนทางใต้เกาะภูเก็ตมีเกาะไม้ท่อน และหมู่เกาะราชา
* จังหวัดพังงา ทางตะวันตก ห่างออกจากฝั่งออกไปมากมีหมู่เกาะอยู่เป็นระยะๆ ซึ่งแต่ละเกาะมีแนวปะการังเจริญดีมาก เช่นหมู่เกาะสุรินทร์ เกาะตาชัย
หมู่เกาะสิมิลัน และหมู่เกาะยวง ทำให้เป็นที่สนใจของนักดำน้ำทั่วโลก ส่วนทางทิศใต้เป็นป่าชายเลนขนาดใหญ่ ทำให้ไม่พบแนวปะการัง
* จังหวัดระนอง เป็นบริเวณที่มีแม่น้ำและป่าชายเลนกว้างขวาง การเติบโตของปะการังจึงไม่ดี แต่อย่างไรก็ตามห่างฝั่งออกไปก็สามารถพบปะการังได้
เช่นกันที่หมู่เกาะกำ

สิ่งมีชีวิตในแนวปะการัง
1. สาหร่าย
2. ฟองน้ำ
3. หญ้าทะเล
4. ปะการังอ่อน
5. กัลปังหา และพัดทะเล
6. ดอกไม้ทะเล
7. หนอนทะเล
8. หอย
9. สัตว์มีขาเป็นข้อ เช่น กุ้ง ปู
10. สัตว์ที่มีผิวหนังเป็นปุ่ม เช่น หอยเม่น ปลาดาว ปลาดาวหมอน
11. เพรียงหัวหอม
12. ปลาต่างๆ เช่น ปลาผีเสื้อ ปลาสลิดหิน ปลาเก๋า ปลากะพง

ความสำคัญของปะการัง
แนวปะการังเป็นระบบนิเวศที่มีคุณค่าและประโยชน์นานัปการ แต่มักถูกมองข้าม และไม่ค่อยจะได้รับความสำคัญ

1. เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์นานาชนิด
 ทั้งนี้เพราะลักษณะที่มีซอกมีโพรงอยู่ทั่วๆ ไปทำให้เหมาะต่อการหลบภัยเป็นที่อยู่และหาอาหารหลายมีค่าทางเศรษฐกิจ สามารถที่จะจับมาใช้อย่างถูกวิธี การ อนุรักษ์ได้ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา หลายชนิดเป็นที่นิยมในการบริโภค ตลอดไปจนถึงการสะสม ทำให้มีแพงและเป็นที่ต้องการของตลาดมาก
2. แนวปะการังตามชายฝั่งมีส่วนในการช่วยลดความรุนแรงของคลื่นที่กระทำต่อชายฝั่งได้ เมื่อคลื่นปะทะกับปะการังที่ขอบแนวปะการัง คลื่นจะแตกตัว ทำความรุนแรงที่กระทบหาดทรายลดลง ในหลายๆ แห่งซึ่งปะการังถูกทำลายไป ชายฝั่งทะเลจะถูกกัดเซาะและพังทลาย ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก
3. แนวปะการังเป็นแหล่งท่องเที่ยวใต้ทะเล เนื่องจากความสวยงาม ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต น้ำที่ใสสะอาดและองค์ประกอบอื่นๆ อีกมากมาย
ทำให้บริเวณแนวปะการังกลายเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและดึงดูด นักท่องเที่ยวเป็นอย่างดี และขณะนี้จำนวนนักดำน้ำกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศและต่างประเทศกำลังนิยมดำน้ำในประเทศไทยกันมากขึ้น
4. ความสิ่งคัญของปะการังและสิ่งมีชีวิตในทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขกำลังขยายตัวอย่างมาก เพราะสามารถสกัดสารเคมีจากสิ่งมีชีวิตเหล่านี้
ไปใช้ประโยชน์กันได้นานัปการ เช่น ทำครีมทาป้องกันแสง อัลตราไวโอเลตซึ่งทำลายเซลล์ผิวหนัง การสกัดสารต่างๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในการทดลองเกี่ยวกับการค้นหาสารเพื่อขับไล่ปลาฉลาม เป็นต้น
5. นอกจากคุณค่าดังที่กล่าวมาแล้วนั้น ปะการังยังมีคุณค่าในการทำให้เกิดทรายกับชายหาด โดยเกิดจากการสึกกร่อนแตกย่อยของโครงสร้างหินปูน โดยการจากสัตว์ทะเลบางชนิด และโดยคลื่น เป็นต้น

ปะการังถูกทำลายเนื่องจากสาเหตุใดบ้าง

1. การจับสัตว์น้ำในแนวปะการัง เช่น
1.1 เรืออวนรุน และเรืออวนลากที่ลักลอบเข้ามาทำการประมงในเขต 3,000 เมตร ซึ่งเป็นแหล่งปะการังซึ่งเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำวัยอ่อนซึ่งไม่เพียง
แต่เป็นการทำลาย ปะการังอย่างเดียวเท่านั้นยังเป็นการทำลาย ระบบนิเวศทางทะเลอีกด้วย และปัญหานี้ค่อนข้างรุนแรงมาก
1.2 การระเบิดปลา ส่งผลให้ปะการังหักพังแหลกสลายนี่ก็เป็นการทำลายปะการังอย่างรุนแรง เพราะปะการังจะหักเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย โอกาสที่จะกลับมา
เหมือนเดิมใช้เวลานานมาก
1.3 การใช้สารเคมีเบื่อปลา จะทำให้สารเคมีที่ตกค้างทำลายปะการังและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ จนตายหมด
2. การท่องเที่ยว เกิดจากการที่นักท่องเที่ยวไปเดินหรือยืนบนปะการัง รวมทั้งการทิ้งสมอเรือที่นำนักท่องเที่ยวเข้าไป แม้ปัจจุบันจะมีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งมีการผูกทุ่นเพื่อจอดเรือ แต่ยังมีเรือหลายลำที่ยังทิ้งสมอ ลงไป และการก่อสร้างชายฝั่ง เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว จะมีผลกระทบอย่างมากหากสร้างลงไปบนปะการัง เช่นสร้างท่าเรือ ขุดลอกร่องน้ำเพื่อเอาเรือเข้า เป็นต้น

3. การพัฒนาที่ดินบริเวณใกล้เคียงชายฝั่ง การก่อสร้างที่ยื่นล้ำลงไปในชายหาด ทำให้ทรายถูกพาเคลื่อนไป อาจไปทับถมปะการังได้ หรือก่อสร้าง
โดยเปิดหน้าดินออกทำให้เกิดการชะตะกอนลงไปในน้ำไปคลุมปะการัง ตายได้ การทิ้งของเสียและสิ่งปฏิกูลลงในบริเวณปะการัง ก็ทำให้เสียสมดุลของระบบนิเวศ เช่น สาหร่ายจะเกิดมากขึ้นปกคลุมปะการังให้ตายหมด เมื่อมีน้ำเสียทิ้งลงไป เช่น การพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ
4. การทำเหมืองแร่บริเวณใกล้เคียงแนวปะการัง ไม่ว่าบนบกหรือในทะเล น้ำล้างแร่นั้นมีตะกอนมากจะทำให้ปะการังตายได้

ที่มา: http://www.icef.or.th/web/Knowledge-ICEF/knowledge-the-coral1.html

การเริ่มตั้งตู้ปลาทะเล (จากเพจ ชมรมตู้ปลาทะเลไทย)




ชมรมตู้ปลาทะเลไทย ได้เพิ่มรูปภาพใหม่ในอัลบั้ม: ตู้ทะเล
17 พฤษภาคม 2012 · 
การเริ่มตั้งตู้ปลาทะเล
ในบทความนี้ผมจะพูดถึงการเริ่มต้นตั้งตู้กันแบบง่ายๆ ผู้ที่สนใจสามารถทำได้ในทางปฎิบัติโดยจะไม่กล่าวถึงกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มากนัก
อุปกรณ์
1 ตู้ปลา ตู้ปลาทะเลที่นิยมใช้กันมีสองแบบคือแบบกรองล่างและแบบกรองข้าง ทั้งสองแบบใกล้เคียงกันในหลักการแต่แบบกรองล่างจะมีข้อดีกว่าตรงที่มีพื้นที่ให้ติดตั้งอุปกรณ์เสริมต่างๆได้มากกว่าซึ่งจะมีผลทำให้เลี้ยงสิ่งมีชีวิตต่างๆได้มากกว่าและแน่นอนว่ามันจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า ในที่นี้เพื่อความง่ายในทางปฎิบัติสำหรับผู้เริ่มต้นผมจะเริ่มจากตู้กรองข้างทั่วๆไปขนาด 36x18x18 นิ้ว พร้อมขาตั้ง
2 หัวปั๊มพาเวอร์เฮด ขนาดสองพันลิตรต่อชั่วโมง
3 อุปกรณ์วัดความเค็ม มีทั้งแบบแท่ง แบบตวง ทั้งสองแบบมักจะให้ค่าที่มีความคลาดเคลื่อนสูง สำหรับอุปกรณ์ชนิดนี้นับว่ามีความสำคัญสำหรับการเลี้ยงผมจึงแนะนำให้ใช้แบบกล้องส่องซึ่งมีความแม่นยำสูงแม้ว่าราคาจะสูงกว่า(ประมาณพันต้นๆ)แต่ก็คุ้มที่จะหามาใช้
4 เกลือวิทยาศาสตร์สำหรับทำน้ำเค็ม แนะนำเกลือไม่ต้องแพงแต่ขอให้มีคุณภาพ เกลือจีนไม่มีฉลากกำกับไม่แนะนำ สำหรับตู้ 36นิ้ว ใช้เกลือประมาณ หกถึงแปดกิโลแล้วแต่ว่าจะผสมให้เค็มเท่าไหร่
5 แบกทีเรียตั้งต้น จะเป็นหลอดหรือเป็นขวดก็ได้ไม่แตกต่างแต่ของไทยที่ใส่ขวดน้ำพลาสติกมาขายไม่แนะนำ
6 วัสดุกรอง
6.1 ใยกรองไฟเบอร์
6.2 เศษปะการังหัก ใส่ถุงตาข่ายเล็ก ห้าถุงเอาเบอร์เล็กๆหนักๆหน่อย แบบใหญ่ๆเบาๆไม่เอา
7 หินเป็น หินเป็นมีความสำคัญกับกระบวนการบำบัดน้ำของตู้ทะเลเป็นอย่างมาก การเลือกซื้อจึงมีความสำคัญ หินเป็นที่ดีไม่ควรมีกลิ่นเน่า และไม่ควรมีตัวอะไรติดมาจะดีที่สุด(สำหรับมือใหม่) ถ้าจะให้ดีควรเลือกหินเป็นจากทะเลจะดีกว่าหินตายที่นำมาแช่ให้เป็น ตู้ 36เริ่มแรกควรใช้หินก้อนใหญ่หน่อยห้าก้อนขึ้นไป
8 ทรายทะเลหรือเศษปะการังป่นรองก้นตู้ จะใช้หรือไม่ก็ได้ ในที่นี้แนะนำอย่างละครึ่งผสมกันรองบางๆก้นตู้ ถ้าซื้อเป็นกระสอบจะถูกกว่าแบ่งขาย
เริ่มตั้งตู้
เมื่อได้อุปกรณ์ต่างๆมาครบแล้วเริ่มจากหาที่ตั้งตู้ ที่ตั้งตู้ไม่ควรโดนแดดเพราะจะทำให้ตะใคร่ขึ้นได้ง่ายและควรเป็นที่ที่อากาศไม่ร้อน เมื่อหาที่ได้แล้วให้ติดตั้งพาเวอร์เฮด(ไม่ต้องใส่สายอาอาศ) จากนั้นใส่เศษปะการังลงไปจนเต็ม ชั้นบนสุดรองด้วยแผ่นกรองหยาบ เราจะไม่ใช้ไบโอบอล จากนั้นใส่น้ำจืดลงไปให้เต็มเปิดปั๊มดูว่าน้ำไหลเวียนดีหรือไม่ มีรอยรั่วตรงไหนหรือไม่ ระหว่างนี้ให้สังเกตุระดับน้ำในช่องกรอง พยายามจัดการให้ระดับน้ำในช่องกรองอยู่ที่สามส่วนสี่ของระดับน้ำในตู้ โดยเติมน้ำลงไปในตู้ถ้าระดับน้ำต่ำและตักออกถ้าระดับน้ำสูงเกินไป
รองน้ำใส่ถังพลาสติก 200ลิตร (หาซื้อได้ตามชานเมือง ถังที่เอามาทำถังขยะกันนั่นและ) จนเกือบเต็ม ใส่เกลือลงไปหกกิโลก่อน เติมน้ำต่อจนเต็มแล้วคนให้เกลือละลายให้หมด จากนั้นใช้ปั๊มอ๊อกกับหัวทรายเป่าทิ้งไว้หนึ่งคืน วันรุ่งขึ้นวัดความเค็มว่าได้เท่าไหร่ ช่วงแรกนี้ไม่ต้องเค็มมากเอาซัก 25pptก็พอ แต่ถ้าวัดแล้วเค็มเกินกว่า 25ก็ไม่เป็นไร ถ้าเค็มต่ำกว่าให้เพิ่มเกลือลงไป
เมื่อได้น้ำเค็มแล้วให้ถ่ายน้ำจืดออกแล้วเติมน้ำเค็มที่ทำไว้ลงไปแทน(ถ้าจะปูทรายก็ลงเลยครับระวังน้ำล้นด้วย)จากนั้นเติมแบกทีเรียลงไปตามที่ บ.ผู้ผลิตกำหนด (น้ำตู้เรา 200ลิตร) วันรุ่งขึ้นโปรยอาหารปลาลงไปหน่อยหรือเศษกุ้งก็ได้แต่ไม่ต้องมากเพื่อเป็นอาหารแบกทีเรีย ในขั้นตอนแรกนี้เราจะเลี้ยงแบกทีเรียก่อน
พอว่างคราวนี้เราจะไปซื้อหินเป็น ขั้นตอนนี้สำคัญ ค่อยๆหา ค่อยๆดู ไปเดินเรื่อยๆ มีก้อนถูกใจแค่ไหนเอาแค่นั้น ไม่จำเป็นต้องซื้อมาทีละเยอะๆ พอได้มาก็เอาลงตู้จัดตามใจชอบ
คอยเติมแบกทีเรียอาทิตย์ละครั้ง อาหารด้วย ครบสามอาทิตย์ไม่ต้องเติมอะไรอีกต่อไปแต่ในตู้ต้องมีหินเป็นเยอะแล้วนะครับ รอไปจนถึงอาทิตย์ที่หกแล้วจะมาต่อให้ครับ

รูปภาพของ ชมรมตู้ปลาทะเลไทย
ถูกใจ   แสดงความคิดเห็น   
  • Chalongsri Phantaeng, Aoy Natdanai, เจมส์บอน บานปลาย สุราษฎร์ และคนอื่นๆ อีก 590 คนถูกใจสิ่งนี้
  • แชร์ 60 ครั้ง
  • 45 จาก 56
    ดูความคิดเห็นก่อนหน้า
  • Vichaya Vitayanond รออ่านต่อคับ
    8 ธันวาคม 2012 เวลา 14:06 น.
  • Sayumpu Pan-Oh คุณครับคุณผมกำลังศึกษาเรื่องการเลี้ยงปลาเบื่องต้นอยากได้คำแนะนำครับ....
    23 ธันวาคม 2012 เวลา 5:42 น.
  • ชมรมตู้ปลาทะเลไทย ยินดีครับ
    24 ธันวาคม 2012 เวลา 13:27 น. · 2
  • Woravat Jongkavinid ผมรักปลาทะเล
    4 มกราคม 2013 เวลา 22:45 น.
  • Chokchai Thongnuiphram ตู้ที่เลี้ยงปะการังต้องคุมอุณหภูมิในตู้ให้อยู่ซักเท่าไหร่ครับ
    12 มีนาคม 2013 เวลา 3:26 น. · 1
  • ชยกฤต ขำเถื่อน เลี้ยงdiscus อยู่ อยากจะเริ่มเลี้ยงปลาทะเลบ้าง ขอศึกษาซักพักก่อน..
    23 มีนาคม 2013 เวลา 8:58 น. · 2
  • Man Ju ต้องนานแค่ใหน กว่าจ่ะได้ยังนี้
    30 มีนาคม 2013 เวลา 17:23 น. · 2
  • Man Ju เท่าที่รู้ ราคาสูงหน้าดู!
    30 มีนาคม 2013 เวลา 17:24 น.
  • ตะวัน ทองรักอยู่ รบกวนถามพี่ๆครับ ตู้ปลาทะเล ต้องใส่แท่งคาร์บอนมั้ยครับ
    2 เมษายน 2013 เวลา 2:20 น. · 1
  • Man Ju เท่าทีรู้าการัง จ่ะเลียงพร้อมกันไม่ได้นี้น่ะ
    5 เมษายน 2013 เวลา 4:06 น.
  • ช่างอาร์ม ยามาฮ่า สวยมากๆๆคาบถ้าอยากจัดให้ได้อย่างนี้งบประมาณสักเท่าไหร่ถึงจะพอคาบ
    15 เมษายน 2013 เวลา 3:43 น. · 1
  • Sunanta Ae Jiruttitijaroen กะลังจะซื้อให้คุณพ่อค่ะรบกวนแนะนำด้วยค่ะมือใหม่เจงๆ
    16 เมษายน 2013 เวลา 22:27 น. · 2
  • May Shi Nori Suriyatip อยู่ศรีสะเกษคระอยากเลี้ยงมากๆ จะหาซื้อวัสดุ อุปกรณ์ ได้ที่ไหน
    8 พฤษภาคม 2013 เวลา 21:56 น.
  • Olyoly Oly ขอถูกใจด้วยคนค่ะ กำลังสนใจ อยากเลี้ยงมาก ๆค่ะ กำลังศึกษาอยู่ ตุ้ของพี่สวยงามมาก ปลาคงจะมีความสุขน่าดู เหอๆ
    18 พฤษภาคม 2013 เวลา 9:12 น.
  • สุภาณี นาคน้อย พี่ค่ะพอดีว่า ตู้ปลาที่หนูเลี้ยงไว้มันเกิดปัญหาคือว่ามันชอบมีตะไคร่น้ำเกาะติดกับตู้ปลาล้างและขัดยังไงก้อไม่ออกค่ะ พี่ช่วยแนะนำได้ไหมค่ะ หนูแทบไม่อยากจะขัดตู้ปลาแล้วอ่ะพี่ตู้เปนลอยขัดหมดแล้วค่ะ
    1 มิถุนายน 2013 เวลา 20:15 น.
  • Itsarin Sinrapapong เลี้ยงเพาเวอบลูรอดด้วย..
    5 มิถุนายน 2013 เวลา 14:55 น.
  • Lampang Chaina สวยมากคับ
    15 มิถุนายน 2013 เวลา 20:41 น.
  • Hundhapok Rojsurakitti ตู้นี้ผมว่าร่วม แสนสอง
    18 มิถุนายน 2013 เวลา 4:35 น.
  • Klidlada Morgan อยากขายตู้ปลาที่บ้าน ชอบค่ะ แต่ไม่มีเวลาดูแล สนใจ 087-4869644 อยู่พัทยา
    11 กรกฎาคม 2013 เวลา 18:38 น. · 1
  • Koh Automaccanic สวยมากๆเลยคร๊าบ
    16 กรกฎาคม 2013 เวลา 7:52 น.
  • Sayumpu Pan-Oh ตอนนี้ผม เลี่ยงรอดแล้วนะครับ ได้อ่านตรงนี้เบื้องต้นและได้ไปดูการเลี้ยงจริง..เลยทีตู้ใบงามได้ ขอบคุณความรู้นะครับ
    12 สิงหาคม 2013 เวลา 9:02 น. · 2
  • คุณแม่ แสนดี สวยจังคะ่
    20 กันยายน 2013 เวลา 6:15 น.
  • สาว มะยม สวยคะ
    12 ตุลาคม 2013 เวลา 7:09 น.
  • Ball Ball ขอเข้าร่วมชมรมด้วยคนนะครับ
    9 ธันวาคม 2013 เวลา 7:18 น.
  • Noppadol Wiwattanachai สอบถามเกี๋ยวกับปั้มทำคลื่นหน่อยครับ ว่าเราควรใช้ ความแรงเท่าไร ยังไง ถ้า ตู้ 36x18x18 กั้นกรองข้างเต็ม ปั้มจากกรองฃพ่นออกด้านขวา ตำแหน่อง ที่ติดตัวทำคลื่น ควร วาง ที่ไหน ดี รบกวนผู้รู้ หน่อย ครับ
    13 ธันวาคม 2013 เวลา 0:00 น.
  • Wisooth Luangsanam พอจะมี video การติดตั้งไหมครับ เริ่มไม่ถูกเลยครับ
    3 มีนาคม 2014 เวลา 0:04 น. · 2
  • รถไฟ คลองเตย'ย หวัดดีคับใครที่ชิอบเลี้ยง ปลาทะเล รู้เรื่องปลาทะเล อะไรก็แล้วที่เกี่ยวกับปลาทะเล มาคุยกันคับผม พึ้่สร้างกลุ่มในไลน์
    ID:aewcrazy
    แอดละทักมานะคับเดียวผมจะชวนเข้ากลุ่ม มาคุยกันนะคับ^^
    15 มีนาคม 2014 เวลา 12:50 น. · 2
  • Mon Demo ผมน้องใหม่ครับ ผมเลี้ยงอยู่ครับ ตู้สวยมากครับ
    28 มีนาคม 2014 เวลา 8:11 น. · 1
  • Pair Suchada เลี้ยงปลาทะเลมาได้ประมาณ 2 เดือนค่ะ มีปลาตายบ้างเล็กน้อย มาเมื่อคืนวันเส่ร์เปลี่ยนเครื่องกรองน้ำใหม่ให้ พออีกวันมาช่วงสายๆ ปลาตายพร้อมเกือบหมดตู้เลยค่ะ มีใครช่วยบอกได้มั้ยค่ะ ว่าเกิดจากอะไร
    31 มีนาคม 2014 เวลา 1:12 น. · 1
  • Sirawit Tum ขอบคุณครับ
    28 มิถุนายน 2014 เวลา 18:52 น.
  • KN Khaikai พี่ครับผมจะลดno2อย่างไรครับ
    1 กรกฎาคม 2014 เวลา 7:04 น.
  • สถาพร จิตขจรไพศาล ปิดไปแล้วเหรอครับ ไม่เห็นมีโพสต์ใหม่เลย ความรู้สำหรับนักเลี้ยงปลามือใหม่ เลยจบเลยครับ
    21 กรกฎาคม 2014 เวลา 18:25 น.
  • Nossle Mn เลี้ยง มา ประ มาน สอง เดือน เเล้ว ครับ มี ปลาการตูนเพอร์คูลล่า 1 คู่ เเล้ว ก้อ ปลาสอด ทะเล ครับ 
    เเต่ พ่อ ใส่ หลอดไฟ ได้ สัก พัก น้ำเริ่ม เขียว ทำไง ดี อ่ะ คัฟ รบ กวน หน่อย คัฟ


    รูปภาพของ Nossle Mn
    23 กรกฎาคม 2014 เวลา 0:17 น.
  • สุชาดา สัวข์ืทอง เพิ่งมส่นีโม2วัน
    25 กรกฎาคม 2014 เวลา 22:34 น.
  • Aoddy Saenboonsri ตู้ 48 นิ้วครับ

    รูปภาพของ Aoddy Saenboonsri
    11 กันยายน 2014 เวลา 8:16 น. · 9
  • เธียรพงศ์ ปลูกงาม สวยครับ
    14 กันยายน 2014 เวลา 5:46 น.
  • Teepakorn Meekeaw ผมมีตู้ 96*36*36 จะตั้งตู้ปลา ทะเล เริ่มตรงไหนดีครับ จะยุบตู้จาก น้ำจืดไป น้ำเค็ม กรองล่าง 72*24*20
    12 พฤศจิกายน 2014 เวลา 1:05 น.
  • Sadayu Sangchan สำหรับคนชอบปลาครับ
    https://m.facebook.com/gorgeousfish

    ปลาสวยงาม
    ชุมชน
    รูปภาพของ ปลาสวยงาม


    ปลาสวยงาม

    2,675 ถูกใจ
    12 คนกำลังพูดถึงสิ่งนี้
    24 ธันวาคม 2014 เวลา 12:35 น. · 1
  • สมบูรณ์ ปากริม ถูกใจคนรักปลา
    16 มกราคม เวลา 4:19 น.
  • กังหันลม โบราณ ขอบคุณคับ
    23 มกราคม เวลา 2:01 น.
  • Golfkiki Loveyou เกลือ วิทยาศาสตร์หรอคับ6กกนิ
    16 กุมภาพันธ์ เวลา 9:24 น.
  • พินก คิโอ สวยๆๆ
    9 มีนาคม เวลา 4:10 น.
  • Jack Zoloist ขอบคุณบทความดีๆครับ
    22 เมษายน เวลา 1:05 น.
  • Vinai Arunraktaworn ขอบคุณครับ
    30 เมษายน เวลา 7:28 น.
  • ฟาร์รุค ฟุกฟุก ขอความรุ้หน่อยครับ
    คือหลอดไฟเลี้ยงปลาน้ำจืดขาดครับ(สีชมพูอ่อนๆ) ผมเลยใช้หลอดไฟปลาทะเลที่เคยมีอยุ่ใส่เเทน อยากรุ้ว่าปลาน้ำจืดกับไม้น้ำจะเป็นอะไรไหมครับ ^^"





ที่มา:face book >>> ชมรมตู้ปลาทะเลไทย